SpongeBob SquarePants Patrick Star

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่าง กันเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม

ผู้แต่ง  : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ลักษณะคำประพันธ์ : ร้อยแก้ว ประเภทบทความ

จุดมุ่งหมายในการแต่ง :เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน

ซึ่งกล่าวถึงชีวิต   และความทุกข์ของชาวนา

ความเป็นมา

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์

ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง

ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์

ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41

พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต

และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก

"เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ

เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน

ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน

เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว

จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว

จากกรวงเป็นเม็ดพราว ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ

เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น

ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน

น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน

สายเลือดกูท้งสิ้น ที่สูชดกำชาบฟัน"

เรื่องย่อ

เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา

ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ ชาวนาเท่าที่ควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ แตกต่างกันเลย

เนื้อเรื่อง : ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึก ซึ้งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหูมาจนถึงวันนี้

เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ

เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน

ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน

เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว

จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว

จากกรวงเป็นเม็ดพราว ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ

เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น

ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน

น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน

สายเลือดกูท้งสิ้น ที่สูชดกำชาบฟัน

ดูสรรพนามที่ใช้ว่า "กู" ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก" กับใคร ๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อคนกลุ่มนี้ในด้ายของปัจจัยในการผลิต การพยุงหรือประกันราคา และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลาย ๆ ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่าหรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องเสี่ยงมากเท่าการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็มักจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่ง มักจะได้ราคาต่ำ เพราะรัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมราคามาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่น ที่ราคาสูงกว่า แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางที่จะขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะ ที่ดีขึ้นได้ อาจแย่ลงด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะอิธรณ์ฎีกากับใคร ถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่น บ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป

หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 772 ถึง 846 สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน ข้าพเจ้าจะพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์

หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง

จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง

รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง

แต่ชาวนาก็ยังอดตาย

ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน

เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว

ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น

ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส